วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ลดรอยดําจากสิว แบบธรรมชาติ เปลี่ยนหน้าสิวให้สวยใส



 ลดรอยดําจากสิว แบบธรรมชาติ ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่กระปุกดอทคอมเอามาฝาก รับรองหน้าสิวก็เป็นหน้าสวยได้ไม่ยาก
          ชั่วโมงนี้ใคร ๆ ก็อยากมีหน้าใส ๆ เนียน ๆ เอาไว้อวดคนรอบข้าง แต่จะทำอย่างไรดีเมื่อสิวเจ้ากรรมมักจะขึ้นมากวนใจอยู่ทุกที แถมยังทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้ปวดใจเล่น ๆ อีกด้วย สำหรับใครที่กำลังมีปัญหานี้และหาวิธีแก้ไม่ตก วันนี้กระปุกดอทคอมมีวิธีลดรอยสิวด้วยวิธีแบบธรรมชาติมาให้ลองทำกันดูค่ะ รับรองเลยว่าหน้าที่มีแต่รอยสิวจะกลายเป็นหน้าสวยใสได้ไม่ยาก แถมยังทำได้ง่ายไม่เปลืองเงิน เชื่อว่าต้องถูกใจคุณสาว ๆ อย่างแน่นอน เอ้า ! จะมีวิธีไหนบ้าง ไปดูกันเลย

 ใช้น้ำมะนาวทาหน้า
          บีบน้ำมะนาวใส่ถ้วยเล็ก ๆ นำสำลีมาชุบทาหน้าในบริเวณที่มีจุดด่างดำจากสิว โดยให้ทาก่อนนอนโดยไม่ต้องล้างออก ซึ่งในน้ำมะนาวจะมีกรด AHA ช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิว ทำบ่อย ๆ จะช่วยลดรอยดำจากสิวได้เป็นอย่างดี แถมยังป้องกันการเกิดสิวใหม่ได้อีกด้วย

 สครับหน้าด้วยมะขามเปียก

          คั้นน้ำมะขามเปียกผสมน้ำผึ้งลงไปเล็กน้อย เมื่อได้แล้วให้นำมาสครับผิวหน้าโดยการใช้นิ้วมือค่อย ๆ นวดวนเบา ๆ จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วล้างออกให้สะอาด วิธีนี้จะช่วยเร่งการผลัดเซลล์ผิวใหม่ ทำให้รอยสิวจางลงและหน้ากระจ่างขาวใสมากขึ้น

 ลดรอยสิวด้วยหอมแดง

          นำหอมแดงไปปอกเปลือกและแช่เย็นไว้ จากนั้นให้นำออกมาหั่นเป็นแว่น ๆ ทุบสักเล็กน้อยเพื่อให้น้ำจากหัวหอมออกมา เมื่อได้แล้วให้นำมาโปะวางทิ้งไว้บนใบหน้าในบริเวณที่มีรอยสิว ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วเอาออก ล้างหน้าให้สะอาด สูตรนี้ทำเพียงไม่กี่อาทิตย์ก็เห็นผลแล้วค่ะ

 ทาหน้าด้วยน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น

          ในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นจะมีกรดลอริค ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวบนใบหน้าชุ่มชื้นและทำให้รอยสิวจางลงได้ เพียงแค่นำสำลีมาชุบน้ำมะพร้าวสกัดเย็นทาลงไปบริเวณที่มีรอยสิวก่อนนอน ทิ้งไว้โดยไม่ต้องล้างออก วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดรอยสิวได้แล้ว ยังจะช่วยกำจัดแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้อีกด้วย

 ใบบัวบกช่วยลดรอยดำและแผลเป็นจากสิว

          นำใบบัวบกไปตำให้ละเอียด จากนั้นให้นำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วค่อยล้างหน้าให้สะอาด วิธีนี้จะช่วยลดรอยด่างดำจากสิวและช่วยลดแผลเป็นที่เกิดจากสิวได้เป็นอย่างดี เพราะในใบบัวบกจะมีสารไกลโคไซด์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคอลลาเจนให้กับผิวหน้า ทำให้ผิวหน้าขาวขึ้นและรอยสิวจางลงได้

          ได้วิธีรักษารอยดำจากสิวง่าย ๆ แบบธรรมชาติกันไปแล้ว คราวนี้คุณสาว ๆ ก็ไม่ต้องกังวลใจกันอีกต่อไป สิวมาเมื่อไรก็จัดการได้เลย รับรองหน้าสวยใสจนใคร ๆ ก็ต้องอิจฉาแน่นอน



สรรพคุณในการป้องกันโรคของข้าวกล้อง

ข้าวกล้องเป็นหนึ่งในอาหารที่สำคัญที่สุดในโลก โดยเลี้ยงประชากร มากถึงครึ่งหนึ่งของโลก ข้าวเป็นแหล่งของเส้นใยอาหาร แมงกานิส ซีลีเนียม และแมกนีเซียม มีสรรพคุณในการช่วยเสริมสร้างพลังงาน ป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระ ลด คอเลสเตอรอล บำรุงหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน และหอบหืด เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ต้านมะเร็ง และป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี
ทุกคนต่างรู้ดีว่าข้าวเป็นหนึ่งในอาหารที่เก่าแก่ที่มีการปลูก และบริโภคกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมทีมีการคาดกันว่าข้าวปลุกขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศจีน เมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อน แต่หลังจากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี กลับพลเมล็ดข้าวและอุปกรณ์ทางการเกษตรที่มีอายุย้อนหลังไปถึง 9,000 ปีเลยทีเดียว
ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เราพบว่ามีการปลูกข้าวเป็นอาหารในทวีปอาเซียเท่านั้น จนกระทั่งนักเดินทางชาวอาหรับได้นำข้าวไปเผยแพร่ยังประเทศกรีซโบราณ ก่อนที่อเล็กซานเดอร์มหาราชจะนำไปยังอินเดีย และแพร่ไปทั่วทุกมุมโลกในเวลาต่อมา ในศตวรรษที่ 8 ชาวมัวร์ ได้นำข้าวไปยังสเปน ในขณะที่ชาวครูเซด ได้นำมันไปยังฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 17 ข้าวถูกนำไปยังทวีปอเมริกา ได้เป็นครั้งแรก โดยชาวสเปน ในยุคที่มีการล่าอาณานิคม ข้าวส่วนใหญ่ของโลกจะปลูกที่ทวีปอาเซีย โดยมีไทย เวียตนาม และจีน เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก

สรรพคุณในการป้องกันโรคของข้าวกล้อง

หนึ่งในสารอาหารที่มีอยู่อย่างมากมายในข้าวกล้อง คือ ลิกแนน ซึ่งมีสรรพคุณในการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม รวมไปจนถึงโรคหัวใจด้วยเช่นกัน นอกจากข้าวกล้องแล้ว ถั่ว เมล็ดพืช ผลไม้ตระกูลเบอรรี่ต่าง ๆ ผัก ผลไม้ และเครื่องดื่มจำพวกชา กาแฟ และไวน์ก็มีสารลิกแนนอยู่ด้วยเช่นกัน
ผู้หญิงที่กินข้าวกล้อง จะลดน้ำหนักลงได้ดีกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้กิน
งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร American Journal of Clinical Nutrition ได้กล่าวถึงความสำคัญของการกินข้าวกล้อง รวมไปถึงธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือกแปรรูปอื่น ๆ ว่ามีส่วนช่วยคุมน้ำหนักได้ดีกว่าธัญพืชที่ผ่านการแปรรูปจำนวนข้าวขาวอย่างเห็นได้ชัด ที่ Harvard Medical School มีการรวบรวมข้อมูลของอาหาสมัครหญิง จำนวน 74,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 38-63 ปี เป็นเวลามากว่า 12 ปี พบว่าผู้หญิงที่บริโภคธัญพืชไม่แปรรูปจะมีน้ำหนักลงลงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิง ที่กินอาหารดังกล่าวในปริมาณน้อย หรือไม่ได้กินเลย ผู้ที่ได้รับเส้นใยอาหารมากที่สุดจากธัญพืชไม่ขัดสีจะลดน้ำหนักได้มากึงร้อยละ 49 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่กินอาหารซึ่งทำจากธัญพืชขัดสี
ร่างกายแข็งแรง อายุยืนนานด้วยข้าวกล้อง
ข้าวกล้องเป็นแหล่งของแมงกานิส ซีลีเนียม และแมกนีเซียม ข้าวกล้องมีสรรถคุณในการเสริมสร้างพลังงาน ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ระบบการเผาผลาญทำงานเป็นปกติ ช่วยลดน้ำหนัก ลด คอเลสเตอรอล ดีต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ดีต่อกระดูกและฟัน ต้านมะเร็ง ลดความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี และโรคหอบหืด
ข้าวเป็นหนึ่งในอาหารที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นอาหารของประชากรครึ่งค่อนโลก กระบวนการผลิตข้าวกล้องเป็นการกะเทาะผิวส่วนนอกสุดของเมล็ดข้าว หรือส่วนเปลือกของเมล็ดข้าวออกไป ทำให้ข้าวสูญเสียสารอาหารที่มีประโยชน์ออกไปน้อยที่สุด ข้าวยังคงรักษาสารอาหารที่มีประโยชน์ไว้เกือบทั้งหมด การนำข้าวไปผ่านกระบวนการสีจนได้เป็นข้าวขาว?     ทำให้ข้าวสูญเสียวิตามินบี 3 ไปถึงร้อยละ 64 วิตามินบี 1 ร้อยละ 80 วิตามินบี 6 ร้อยละ 90 เหล็กร้อยละ 60 แมงกานิสและฟอสฟอรัสร้อยละ 50 ในขณะที่ยังสูญเสียเส้นใยอาหารและกรดไขมันที่เป็นประโยชน์ไปเกือบทั้งหมดด้วยเช่นกัน

8 เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไงให้จำเร็วและแม่น

1. อ่านหน้าสรุปก่อน
อ่านตอนจบก่อนเลย ผู้เขียนหนังสือส่วนใหญ่ชอบเขียนให้ดูลึกลับ ชักแม่น้ำทั้งห้า เขียนอธิบายอย่างละเอียดยิบ ใช้ประโยคที่ต้องอ่านซ้ำสองสามรอบถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้ประวัติชีวิตของผู้เขียน บทนำ ซึ่งจะเป็นการเขียนเกริ่นแนะนำให้อ่านต่อไปเรื่อย ๆ ซะเป็นส่วนใหญ่
ในทางกลับกัน บทส่งท้าย หรือบทสรุป เป็นสิ่งที่ต้องอ่าน โดยปกติแล้วจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา อีกทั้ง หากเราอ่านบทสรุปก่อน แล้วกลับมาอ่านหน้าแรกอีกครั้งก็ทำให้เราสามารถอ่านได้เข้าใจมากขึ้น แม้กระทั่งในเวลาที่ต้องอ่านหนังสือก่อนเพื่อไปเรียนในคาบถัดไป การอ่านส่วนบทสรุปก็ทำให้เราเห็นภาพคร่าวๆของเนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว
2. ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อนเน้นใจความสำคัญ
ข้อผิดพลาดที่หลายคนทำ คือการเลิกไฮไลต์ เนื่องจากครูผู้สอนกล่าวถึงแทบทุกอย่างในหน้าหนังสือ เลยไฮไลต์ตาม ปรากฏว่าไฮไลต์ไปหมดทั้งหน้า ซึ่งกลายเป็นการกระทำที่ไม่เกิดประโยชน์ไป จึงขี้เกียจไฮไลต์อีก และเลิกทำไปในที่สุด
ความจริงแล้ว การไฮไลต์ข้อความนั้นมีประโยชน์มาก “หากใช้อย่างถูกวิธี” ไม่ควรไฮไลต์ทุกอย่างในหน้า และไม่ควรไฮไลต์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือการไฮไลต์ข้อความที่ผู้เขียนกล่าวสรุป โดยปกติแล้วผู้เขียนมักจะกล่าวประเด็นซ้ำไปมาหลายหน้าและให้ข้อมูลสรุปประเด็นที่ย่อหน้าสุดท้าย ให้ไฮไลต์บริเวณนั้น เมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง เราจะสามารถทราบทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ด้วยการมองเพียงแวบเดียว
3. ดูสารบรรณและหัวข้อย่อย
นักศึกษาที่เรียนในมหาวิทยาลัยมักประหลาดใจเมื่อทราบข้อนี้ว่า อาจารย์ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้อ่านหนังสือจนจบเล่ม แต่สิ่งที่พวกท่านทำนั้น คือการดูสารบรรณและอ่านหัวข้อที่น่าสนใจหรือเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้วิธีการ อ่านผ่านๆอย่างรวดเร็ว (skimming) จนเมื่อเจอหัวข้อที่น่าสนใจจึงค่อยหยุดอ่านอย่างตั้งใจ ทำให้การอ่านั้นไม่น่าเบื่อ เพราะว่าเราจะได้อ่านสิ่งที่เราสนใจจริง ๆ เท่านั้น
และยังทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อยู่ดี เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็นสำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ เทคนิคนี้ช่วยป้องกันอาการ “ตามองอ่านตัวหนังสือทุกบรรทัด แต่ใจความไม่เข้าหัวเลย” อ่านออกแต่สมองไม่ตอบรับว่าสิ่งที่อ่านไปนั้นคืออะไร เพราะเกิดจากการอ่านสิ่งที่เราไม่อยากอ่านนั่นเอง
4. ขวนขวายกันสักนิด
แทนที่จะซึมซับทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่อาจารย์สั่งเท่านั้น ลองเปิดโลกใหม่ดูบ้าง หาหนังสือเล่มอื่นๆ ในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ตก็มีเยอะแยะไปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู ซึ่งหนังสือบางเล่มพูดถึงเล่มเดียวกันแต่เขียนได้น่าอ่าน อ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบเพิ่ม สรุปแบบอ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งจริง ๆ เนื้อหาก็เรื่องเดียวกับที่เรียนในห้อง
แต่ขึ้นชื่อว่าหนังสือเรียนก็รู้ๆ กันอยู่อ่านไปหลับไปเป็นธรรมดา ดังนั้นการหาความรู้ข้างนอกมาเสริมจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ง่าย และเข้าใจมากขึ้น บางทีอาจรู้ลึกกว่าที่เรียนในคาบเสียอีกนะ หนังสือประวัติศาสตร์ไทย ที่มีอยู่ในห้องสมุดอาจจะอ่านแล้วสนุกน่าอ่านกว่าหนังสือที่ใช้เรียนอยู่ก็ได้ การอ่านไม่ใช่เรื่องที่จะทำให้สนุกได้โดยอัตโนมัติ หากเราไม่มองหาสิ่งที่เราอยากอ่านจริง ๆ เสียก่อน การอ่านจะกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับเราไป
5. พยายามอย่าอ่านทุกคำ
หลายคนคิดว่าการอ่านทุกคำจะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดยิบ ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไปและเกิดความล้า เบื่อหน่ายจนตาลอยอ่านหนังสือไม่เข้าหัวในที่สุด
ที่เป็นเช่นนี้เพราะหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในประเภทนิยายมักจะถูกเขียนอธิบายซ้ำ ๆ เพราะผู้เขียนต้องการจะกล่าวอธิบายให้กระจ่าง แต่ใจความสำคัญจริง ๆ แล้วอยู่ที่บทสรุปเพียงไม่กี่ย่อหน้า หนังสือส่วนใหญ่ใส่ข้อมูลหลักฐานจนแน่นมากกว่าจะกล่าวถึงประเด็น ซึ่งก็เป็นเรื่องดีและน่าสนใจ แต่ทุกหลักฐานที่อ้างนั้นก็กล่าวถึงประเด็นเดียว การอ่านเพิ่มเติมก็เป็นการย้ำถึงประเด็นเดิม ดังนั้นเลือกหลักฐานที่น่าสนใจที่สุดแล้วอ่านบทต่อไปเถอะ
แม้แต่หนังสือประเภทนวนิยายก็อาจทำให้เราเบื่อได้เช่นกัน ในบางตอนที่ผู้เขียนอธิบายฉากอย่างละเอียดยิบ ให้ใช้วิธีการอ่านผ่าน ๆ (skimming) จนกว่าจะเจอฉากที่น่าสนใจและอ่านอย่างตั้งใจอีกครั้ง การทำเช่นนี้อาจจะทำให้พลาดส่วนสำคัญบางอย่างไป แต่ก็ทำให้เราอ่านต่อไปได้มาก ดีกว่าเบื่อและหยุดอ่านไป
6. เขียนสรุปมุมมองของผู้อ่าน
อดทนหน่อยอย่าเพิ่งเบื่อ! คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1 หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
การเขียนมุมมองของผู้อ่านเช่นนี้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทราบถึงประเด็นสำคัญของหนังสือเช่นเดียวกับการไฮไลต์ข้อความ เมื่อใกล้ถึงช่วงสอบ จะเป็นการง่ายกว่าที่เราจะนั่งอ่านมุมมองสรุปของผู้อ่าน แทนที่จะพลิกตำราอ่านหนังสือทั้งเล่มเพื่ออ่านทบทวนอีกครั้ง หากเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ เราสามารถอ่านรีวิวหนังสือจากผู้อ่านคนอื่น ๆ ในเว็บไซต์ เช่น Amazon เป็นการเสริมข้อมูลในมุมมองของผู้อ่านท่านอื่น ๆ ที่ได้รับจากหนังสือเล่มนั้นเช่นกัน
7. อภิปรายกับผู้อื่น
คนส่วนมากไม่ชอบการทำงานกลุ่ม แต่การจับกลุ่มกันพูดถึงเนื้้อหาของหนังสือที่ต้องอ่านข่วยทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น
การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านช่วยทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากบางส่วนที่เรามองข้ามไป บางคนนั้นชอบเรียนรู้โดยการฟัง และมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ยินข้อมูล ดังนั้นการพูดคุยสนทนาถกเถียงประเด็นที่อยู่ในหนังสือจะทำให้เราจำประเด็นสำคัญนั้นได้ดีเมื่อได้ฟังผ่านหู ทำให้เราสามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนนั้นได้เมื่ออยู่ในการสอบ
8. จดคำถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่าน
หัวใจหลักของเทคนิคนี้ คือการตั้งคำถาม อย่าเชื่อว่าผู้เขียนนั้นเขียนได้ถูกต้องซะทีเดียว ให้จดจ่อกับสิ่งที่อาจและใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ในการอ่าน เช่น
  • ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวเช่นนั้น?
  • หลักฐานคำอธิบายนี้เป็นจริงหรือ?
  • ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร?
  • ผู้เขียนต้องการสื่อข้อความนี้ให้แก่ใคร?
คำถามอาจซับซ้อนกว่านี้หรือง่ายกว่านี้ ขึ้นอยู่กับหนังสือที่อ่าน เคล็ดลับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือและจดจำได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ แต่ละวิธีก็อาจให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าใครชอบวิธีไหน
กล่าวโดยสรุปก็คือ เราต้องกระตือรือร้นในการอ่าน ค้นหาสิ่งที่อยากอ่าน และทุ่มเทสักหน่อย และจดจำประเด็นสำคัญ หากทำได้เช่นนี้รับรองว่าหนังสือร้อยหน้าก็อ่านจบได้ในเวลาแค่แป๊บเดียวเท่านั้นเองจ้ะ
เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไงให้จำเร็วและแม่น